ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน 🦴💥 คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อม เปราะบางลง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ความหนาแน่นของกระดูกลดลง เนื่องจากสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยโรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด นอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ แต่ก็สามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน

▫️ อายุที่เพิ่มขึ้น มวลกระดูกของเราจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี และผู้ชายที่อายุ 70 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

▫️ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง จะขาดฮอร์โมนเพศ และทำให้การสลายกระดูกเพิ่มขึ้นมาก มีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว

▫️ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

▫️ บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ หรืออาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล เช่น อาหารเค็มจัด ชา กาแฟ จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม และทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้น ส่วนน้ำอัดลมจะทำให้ร่างกายต้องสลายแคลเซียมจากกระดูกมากขึ้น

▫️ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สารนิโคตินจากบุหรี่จะทำลายเซลล์ที่สร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกบางลง และการดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 3 แก้วต่อวันมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

▫️ การใช้ยาบางชนิด อาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหักได้ เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาต้านการหลั่งกรดกลุ่ม PPIs ยาต้านการซึมเศร้า SSRIs เป็นต้น

กระดูกเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ถ้าเกิดแตกหักอาจทำให้เดินไม่ได้ ขยับตัวลำบาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้


ดังนั้น อย่ามองข้ามการดูแลกระดูกของเราตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความแข็งแรงของตัวเราเองในอนาคตค่าา 💞

บทความที่เกี่ยวข้อง

ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ